วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

เครื่องมือและอาหารในการเลี้ยง



เครื่องมือในการเลี้ยง  ถังเลี้ยงต้องเป็นพลาสติกเพราะทำความสะอาดได้ง่าย ช้อนสแตนเลสดีที่สุด ไม่แนะนำพลาสติกเพราะจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย กระบอกฉีดยาควรเตรียมไว้เป็นจำนวนมาก เพราะต้องเปลี่ยนใหม่ทุก ๑-๒ สัปดาห์ สายป้อนอาหาร ที่นิยมกันคือใช้ยางไส้ไก่ จักรยาน แต่มักหลุดเข้าไปใน กระเพาะพักของลูกนก จนต้องลำบากให้สัตวแพทย์ผ่าออกอยู่เสมอ ในปัจจุบันมีสายป้อนอาหารขนาดใหญ่ และสะดวกต่อการป้อนอาหารลูกนกมาก เทอร์โมมิเตอร์ใช้วัดทั้งอุณหภูมิอาหารและอุณหภูมิห้องเลี้ยงลูกนก น้ำยาฆ่าเชื้อเลือกที่สามารถฆ่าได้ทั้งแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัสได้ และที่สำคัญสามารถใช้สัมผัสตัวลูกนกได้ ซึ่งมีให้เลือกหลายยี่ห้อ เครื่องทำความร้อนหรือกาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า ใช้อุ่นน้ำให้ร้อนอยู่ตลอดเวลาไว้ชงอาหารลูกนก ตาชั่งใช้ชั่งอาหารตามสัดส่วนความเข้มข้นที่กำหนดไว้และชั่งลูกนกเพื่อจดบันทึกการเติบโตทุกวัน

อาหาร   เป็นที่ทราบกันดีว่าอาหารต่างประเทศดีกว่าของไทยมาก คุณภาพขึ้นกับราคา น้ำจะใช้น้ำประปามาต้ม เพื่อชงอาหารป้อนลูกนก แต่ถ้าใช้น้ำบาดาลควรต้มหรือผ่านเครื่องกรองให้ดีเสียก่อนนำมาใช้ ส่วนวิตามิน อาหารเสริมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้หรือผักสดชนิดต่างๆ ก็สามารถนำมาป่นและผสมกับอาหารป้อนลูกนกได้









             ที่มา     kah.kasetanimalhospital.com

การดูแลลูกนกแก้วโดยมนุษย์


การดูแลลูกนกแก้วโดยมนุษย์ มีข้อมูลที่ท่านเจ้าของต้องทราบข้อมูลที่ถูกต้องและลงในรายละเอียด         ดังนี้

สิ่งแวดล้อม  ที่ลูกนกอยู่ไม่ว่าจะเป็นในโพรงรังที่พ่อแม่เลี้ยงเองว่ามีการเปลี่ยนสิ่งปูรองหรือไม่ เพราะรังที่สกปรกจะทำให้ลูกนกป่วยได้ง่ายมาก หรือรังที่พ่อแม่นกใช้มานานจนเก่าผุพังน้ำรั่ว หรือมีแมลงสาบ หนูบ้านเข้าไปได้หรือไม่ เพราะเหล่านี้จะพาโรคและอันตรายเข้าไปสู่ลูกนกได้ แต่ถ้าเก็บไข่มาฟักเองเราก็ต้องดูความสะอาดของห้อง เลี้ยงลูกนกแออัดเกินไปหรือไม่ ทำความสะอาดเป็นประจำหรือไม่ เคยมีโรคระบาดหรือไม่ ตู้อบลูกนกก็ต้องมีการเช็ดทำความสะอาดหรืออบฆ่าเชื้อ อย่างน้อยปีละ ๓ ครั้ง กรงต้องมีการทำความสะอาดทุกวัน อุณหภูมิห้องเลี้ยงและตู้อบไม่ควรจะต่ำกว่า ๓๐-๓๖ องศาเซลเซียส เพราะทำให้ลูกนกอบอุ่นและเติบโตได้ดีไม่ป่วยง่าย ความชื้นในตู้อบลูกนกก็ต้องอ้างอิงตาม สายพันธุ์ของนกชนิดนั้นๆแต่โดยปกติไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐



วันที่ลูกนกจะเปิดเปลือกตา  จะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น ในนกแก้วมาคอว์ประมาณ ๑๔-๒๘ วัน นกกระตั๊ว ๑๐- ๒๑ วันและนกแก้ Amazon ๑๔-๒๑ วัน ส่วนช่องหูนกส่วนใหญ่จะเปิดมาตั้งแต่ฟักจากไข่แต่ในนกแก้วมาคอว์ผิวหนังบริเวณส่วนหูจะเปิดเมื่ออายุประมาณ ๒๓ วัน

  •  สิ่งปูรอง   ต้องสะอาด ความสามารถในการดูดซับของเสีย ความสะดวกในการซื้อหาต้องมีขายตลอดปี ลูกนกชอบหรือไม่อันนี้ผู้เลี้ยงต้องสังเกตเอาเอง ราคาต้องไม่สูงมากเกินไปเพราะต้องใช้ตลอดปี







                   ที่มา    kah.kasetanimalhospital.com

การเลี้ยงและอนุบาลลูกนกแก้ว



การเลี้ยงและอนุบาลลูกนกแก้ว




ตามหลักอนุกรมวิธาน จัดนกแก้วอยู่ในอันดับนกแก้ว หรือ Order Psittaciformes มีการกระจายพันธุ์ในเขตป่าร้อนทั่วโลกรวม ๓๕๘ ชนิด
ประเทศไทยพบ ๗ ชนิดใน ๓ สกุล ได้แก่ นกหกใหญ่ นกหกเล็กปากแดง นกหกเล็กปากดำ นกแก้วโม่ง นกกะลิง นกแก้วหัวแพรและนกแขกเต้า อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีและเร็ว มักพบอยู่เป็นคู่หรือฝูง ร้องเสียงแหลม ทำรังตามโพรงไม้ ไข่สีขาวค่อนข้างกลม วางไข่ ๒ ๖ ฟอง ปละ ๑-๒ ครอก ลูกนกแรกเกิดไม่มีขน มีสภาพเป็นลูกอ่อน ตาปิดเดินและช่วยตนเองไม่ได้ ต้องได้รับการดูแลจากพ่อและแม่นกอย่างใกล้ชิด

พ่อแม่นกในธรรมชาติจะวางไข่และฟักในโพรงไม้ซึ่งมีทางเข้า-ออกทางเดียว เมื่อลูกนกออกมาจากไข่ก็จะขย้อนอาหารออกมาจากกระเพาะพักของตนเองให้กิน โดยผลัดกันเลี้ยงตลอดวัน ลูกนกที่อายุน้อยจะได้รับการป้อนอาหารเกือบทุกชั่วโมง และเมื่อลูกนกเติบโต ระยะเวลาระหว่างมื้อจะค่อย ๆ ห่างขึ้น จนถึงระยะเวลาหยุดป้อนที่อายุประมาณ ๓๕ เดือน (ขึ้นกับชนิดของนกนั้นๆ ถ้านกแก้วขนาดเล็กจะหย่าปอนก่อนนกแก้วขนาดใหญ่ ซึ่งอาหารส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้และเมล็ดพืชป่าชนิดต่างๆ จากนั้นลูกนกก็จะปีนออกมาที่ปากรังเพื่อเริ่มหัดบิน โดยพ่อแม่นกจะหยุดป้อนอาหารหรือป้อนน้อยมาก จนลูกนกทนหิวไม่ไหว และในที่สุดก็ต้องบินตามพ่อแม่ไปหากิน ต่อไปจะกล่าวถึงการดูแลลูกนกแก้วและปัญหาที่พบได้บ่อย ในช่วงอายุตั้งแต่ วันถึงหยุดป้อนอาหาร



            




                 ที่มา    kah.kasetanimalhospital.com

ที่อยู่อาศัยและวิธีเลี้ยง



ที่อยู่อาศัยและวิธีเลี้ยง
เลี้ยงโดยให้เกาะอยู่บนคอน
 
ขาตั้งและคอนสำหรับนกแก้วนั้น จะทำให้นกรู้สึกอิสระและออกกำลังกายได้สะดวก คอนควร ทำด้วยวัสดุเนื้อแข็ง ถ้าคอนเป็นไม้ปลายทั้งสองควรหุ้มด้วยโลหะ มิฉะนั้นนกจะฉีกแทะเล่น ในกรณีที่นกยังไม่เชื่องพอ ควรใช้กำไลสวมข้อเท้าซึ่งติดกับโซ่สวมไว้ก่อน และควรขลิบปีก เสียข้างหนึ่งเพื่อป้องกันนกบินหนี บริเวณขนที่จะต้องตัดออกคือขนปีกชั้นที่ 1 ทั้ง 5 โดย ขลิบออกประมาณ 1 นิ้ว


เลี้ยงด้วยกรงภายใน
 
ในกรณีที่นกแก้วเป็นนกรูปร่างเล็ก ขนาดของกรงโดยทั่วไปแล้วไม่ควรมีขนาดกว้างสูง ต่ำ กว่า 2x3 ฟุต ขนาดของกรงนั้นจะเหมาะสมกับนกหรือไม่สังเกตได้จากเมื่อนกเกาะอยู่กลาง กรง หากนกมีโอกาสกางปีกออกได้สะดวก โดยไม่ติดกับกรงหรือคอน ก็จัดได้ว่ามีความพอดี


เลี้ยงด้วยกรงภายนอก



การเลี้ยงนกแก้วด้วยกรงภายนอกนั้นเป็นการดียิ่งสำหรับสุขภาพนก เพราะนกได้อยู่กับสิ่งแวด ล้อมคล้ายกับถิ่นเดิม อากาศโปร่งบริสุทธิ์ นกออกกำลังกายได้ตลอดเวลาแต่ต้องคำนึงถึงแสง แดดและฝน อย่าให้โดนมากเกินไป

อาหาร

อาหารทั่วไปสำหรับเลี้ยงนกแยกออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้
  1. เมล็ดข้าวชนิดต่างๆ ซึ่งมีส่วนผสมของเมล็ดทานตะวัน, ข้าวโอ๊ท, ข้าวสาลี, เมล็ดกัญชา, เมล็ดข้าวโพด, ถั่วลิสง, และเมล็ดข้าวอื่นๆที่กระเทาะเปลือกแล้ว
  2. ผลไม้ต่างๆ เช่น แอ๊ปเปิ้ล, กล้วย, องุ่น, ส้ม และผมไม้มุกชนิด
  3. อาหารจำพวกผักสด เช่น หัวมันเทศ, หัวผักกาด, หัวแคร์รอท, ผักโขม, หรือผักจำพวกกระหล่ำปลี, และผักในสวนครัวชนิดอื่นๆ
  4. กระดองปลาหมึก, ทราย






           ที่มา   wikipedia.org

ประวัตินกแก้ว


นกแก้ว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psittacus torquata) แยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่า 500 ชนิด มีพื้นเพที่อยู่อาศัยตั้งเดิมอยู่ในป่าทึบ ในเขตร้อนของประเทศ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย หมู่เกาะมลายู แอฟริกา ทางใต้ของทิศ เหนือของอเมริกา อินเดีย นอกจากนี้แล้วยังพบทางแถบตะวันตกของอินเดียโดยทั่วไป นกในตระกูลนกแก้วนั้น มักมีความแตกต่างไปจากนกตระกูลอื่นอยู่อย่างหนึ่ง คือ จงอย ปากตอนบนของนกแก้วสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่รวมกับหน้าผาก (ขากรรไกร) และมี ลักษณะเด่นได้แก่ ปากคมแข็ง จงอยปากงุ้มเข้าโคนใหญ่ปลายแหลมน่ากลัว เท้ามีนิ้วข้าง หลังสองนิ้วและข้างหน้าสองนิ้วทุกนิ้วมีเล็บที่แหลมคม สามารถใช้เท้าจับกิ่งไม้ได้เหนียวแน่น ปีนป่ายคันไม้ได้เก่งเป็นพิเศษ และในบางโอกาสยังสามารถจับฉีกอาหารได้ด้วย ปาก ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ขนเป็นสีเขียว สามารถ นำมาฝึกสอนให้พูดภาษาของมนุษย์ได้แทบทุกชนิด


สำหรับรังและที่อยู่อาศัยของนกแก้วโดยทั่วไปมักอยู่ตามในโพรงไม้ หรือโพรงหิน ไม่นิยมใช้วัสดุต่าง ๆ ทำรัง นกจากนกแก้ว เควเคอร์(Quaker Parrakeet) และ นกแก้ว อัฟเบริด์ (Lovebirds) นกแก้วทั้ง 2 ชนิดนี้ นิยมทำรังโดยใช้แขนงหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ เศษ หญ้า เปลือกไม้โดยนำมาสานประกอบขึ้นเป็นรังเป็นนกปากงุ้มเป็นขอในวงศ์ Psittacidae ตัวสีเขียว ปากแดง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น นกแก้วโม่ง (Psittacula eupatria) แก้วหัวแพร (P. roseata) นกมาคอว์ อาหารที่ชอบกินคือผลไม้ โดยนกแก้วมีหลายชนิดและมีสีสดใส ส่วนมากเราจะเห็นนกแก้วมีสีแดง สีน้ำเงิน สีฟ้า








                            ที่มา    wikipedia.org